วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอ

เมื่อเร็วๆนี้ บริษัท อะโดบี ซิสเต็มส์ อินคอร์เปอเรทเต็ดร่วมกับ บริษัท เอซอฟท์วัน จำกัด จัดงานสัมมนา ภายใต้ชื่อ “Adobe Education Solution Seminar 2009” ซึ่งภายในงานมีการให้ความรู้เกี่ยวกับการบริหารและจัดสรรการใช้ซอฟต์แวร์อะโดบีภายในหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมเสนอแนวการสอนที่น่าสนใจและประสบการณ์การเรียนแบบใหม่ ทุกที่ ทุกเวลา ด้วย Adobe Connect, Presenter และ Acrobat พร้อมนำเสนอความสามารถใหม่ๆ ของ Adobe Creative Suite 4 สำหรับสร้างสรรค์งานสื่อสารแบบดิจิตอล เพื่อการพัฒนาทักษะและขยายโอกาสให้กับ บุคคลากรในสถาบันการศึกษา ทั้งอาจารย์ นักเรียน และเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ ให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ด้วยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการเีรียนการสอน

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอ

การสัมมนาวิชาการครั้งนี้ นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร ทรู คอร์ปอเรชั่น ได้บรรยายพิเศษเรื่อง “Meaningful Broadband เพื่อชาวไทยทั่วประเทศ” สรุปได้ว่า ประเทศไทยยังคงล้าหลังประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเห็นได้ชัดจากอัตราการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยที่ยังต่ำมาก โดยปัจจุบันมีผู้ใช้งานบรอดแบนด์ในประเทศไทยเพียง 1.2 ล้านครัวเรือนจากจำนวนประชากรทั้งหมด 19 ล้านครัวเรือน จึงจำเป็นที่จะต้องเร่งพัฒนาด้านเทคโนโลยีไอซีที และความทั่วถึงด้านสาธารณูปโภคเพื่อที่จะยกระดับขีดความสามารถของประเทศ ซึ่งการผลักดันเรื่องอินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์ให้เป็นวาระแห่งชาติ จะทำให้ทุกภาคส่วนร่วมกันวางแผนและให้การสนับสนุนจนสามารถดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม สามารถขยายการเข้าถึงครอบคลุมทั่วประเทศ รวมทั้งทำให้การใช้งานเป็นไปอย่างเต็มประสิทธิภาพ
กลุ่มทรูมองว่า การพัฒนาอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน (Meaningful Broadband) จะต้องเตรียมความพร้อมทั้งด้านฮาร์ดแวร์ และซอฟท์แวร์ควบคู่กันไป ทั้งเรื่องการวางโครงข่ายพื้นฐานไอซีทีที่จะต้องครอบคลุมเข้าถึงทั่วประเทศ การพิจารณานำเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อเพิ่มการเข้าถึง รวมทั้งเรื่องของอุปกรณ์การใช้งาน เช่น สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ้ค ที่จะต้องได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐ ผลักดันเรื่องราคาอุปกรณ์มือถือ คอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ้คให้มีราคาถูกลง เพื่อให้ประชาชนทั่วประเทศ รวมทั้งนักเรียน นักศึกษาที่มีกำลังซื้อต่ำสามารถเข้าถึงได้

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอ


สพป.สตูล มีนโยบายในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาใช้ในการพัฒนางานให้มีความสะดวก รวดเร็ว สอดคล้องกับความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีและความพร้อมของสำนักงาน ในเบื้องต้นมีระบบ e-filing กับ สพฐ. และ โรงเรียนในสังกัด อันดับต่อไปจะขับเคลื่อนระบบเสนองานภายในแบบไร้กระดาษ และทำงานได้ทุกที่ ทุกเวลา (Any where Any time) แบบ 24 x 7 กล่าวคือ สามารถเสนองาน วินิจฉัยสั่งการ ออกเลขหนังสือส่ง ออกเลขคำสั่ง และนำส่งโดยผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้กระดาษ โดยเริ่มทดลองใช้ระบบควบคู่กับระบบเดิม และจะพยายามดำเนินการอย่างเต็มระบบในปีงบประมาณ 2554

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอ


นายธานีรัตน์ ศิริปะชะนะ รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมสัมมนา “เพื่อจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ครั้งที่ 2” ในหัวข้อการรับฟังความคิดเห็นในร่างยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ภายใต้โครงการศึกษาและกำหนดแนวทางในการพัฒนาระบบภูมิสารสนเทศ ว่า ความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ทำให้โลกกลายเป็นสังคมที่ไร้พรมแดน ประกอบกับความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ได้ทำให้มีระบบบริการทางภูมิสารสนเทศต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย ซึ่งระบบให้บริการที่ไร้พรมแดนเหล่านี้ได้ตอบสนองความต้องการที่มีอยู่ในสังคมไทย และทำให้คนไทยที่ต้องการใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศของไทยต้องไปใช้บริการของผู้ให้บริการด้านภูมิสารสนเทศจากต่างประเทศ เนื่องจากข้อมูลภูมิสารสนเทศของไทยนั้นส่วนใหญ่ดำเนินการโดยหน่วยงานภาครัฐ ทั้งนี้ เพราะมีความยุ่งยากในการจัดทำ และมีค่าใช้จ่ายในการลงทุนที่ค่อนข้างสูง รวมทั้งยังมีข้อจำกัดในเรื่องข้อมูลภูมิสารสนเทศส่วนใหญ่ ยังเป็นข้อมูลที่ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยของประเทศ
ดังนั้น กระทรวงไอซีที จึงได้ร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดทำโครงการศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาระบบภูมิสารสนเทศขึ้น เพื่อวางแนวทางให้ประเทศไทยสามารถใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ซึ่งโครงการดังกล่าวได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนสามารถจัดทำร่างยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว และเพื่อให้ร่างยุทธศาสตร์ฯ นี้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น กระทรวงฯ จึงได้จัดการประชุมสัมมนาเพื่อนำเสนอผลการจัดทำร่างยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ตลอดจนเพื่อรับฟังข้อคิดเห็น รวมทั้งข้อเสนอแนะจากผู้แทนหน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
“การประชุมสัมมนาในครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอร่างยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศที่ได้จากการทำ SWOT Analysis พร้อมทั้งรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์จากผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ และเอกชนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากการประชุมสัมมนาครั้งนี้ จะนำไปใช้ในการปรับปรุงผลการศึกษาให้มีความสมบูรณ์เหมาะสมและสอดคล้องกับการนำไปใช้ประโยชน์ โดยยุทธศาสตร์จากแผนแม่บทเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศนี้ จะนำไปใช้เป็นกรอบและแนวทางในการจัดทำและพัฒนางานภูมิสารสนเทศของประเทศให้เป็นไปตามกรอบและแนวทางเดียวกัน ซึ่งนอกจากการจัดทำยุทธศาสตร์ดังกล่าวแล้ว กระทรวงฯ ยังได้จัดทำมาตรฐานภูมิสารสนเทศที่ครอบคลุมมาตรฐานของข้อมูล และมาตรฐานของอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวได้เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้วเช่นกัน” นายธานีรัตน์ กล่าว

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอ


ร้อยตรีหญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการกำหนดนโยบายเพื่อเป็นการป้องกันและปราบปรามการนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ผิดกฎหมายและหรือไม่เหมาะสมผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ว่า สืบเนื่องจากที่นายกรัฐมนตรีมีคำสั่งให้แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการนโยบายเพื่อเป็นการป้องกันและปราบปรามการนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ผิดกฎหมายและหรือไม่เหมาะสมผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่มีการบูรณาการความร่วมมือจากกระทรวงต่างๆ ทั้งกระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กรมสอบสวนคดีพิเศษ กรมประชาสัมพันธ์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สภาความมั่นคงแห่งชาติ กองทัพบก กองทัพอากาศ และกองทัพเรือ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นประธาน กระทรวงไอซีทีในฐานะเจ้าภาพหลักจึงได้จัดการประชุมคณะกรรมการอำนวยการชุดดังกล่าวขึ้น เพื่อกำหนดกรอบนโยบายในการดำเนินงาน